hotnews

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
วันนี้ 26 เมษายน 2566 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล นายแพทย์ชาติชาย กิติยานันท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี มอบหมายให้ นายแพทย์กฤษดา วุธยากร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสังขละบุรี และผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพงานสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพงานประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2566 พร้อมให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนให้คำแนะนำประชาชนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร นโยบายและการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนและพัฒนาภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และเพื่อให้การประชาสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ให้รับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว และแก้ไขความเข้าใจผิด โดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวาง โดยมุ่งหวังให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและใส่ใจการดูแลสุขภาพ และสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ประชาชน และชุมชน
โอกาสนี้ นายแพทย์กฤษดา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแนะนำประชาชนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน พร้อมทั้งให้คำแนะนำประชาชนในการป้องกันโรคโรคพิษสุนัขบ้าและประสบการณ์การดำเนินงานควบคุมโรคในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนโดยมีพาหะหลักจากสุนัข แมว ที่นำเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ซึ่งอาจกัด ข่วน หรือเลียผิวหนังคนมีแผล ที่สำคัญโรคนี้เป็นแล้วตายทุกราย ไม่มียารักษา แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีน
สำหรับอาการของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีน้ำลายไหล ซึม เบื่ออาหารคอแข็ง วิ่งพล่าน โมโหร้าย วิ่งกัดคนไม่เลือก หากพบเห็นไม่ควรเข้าใกล้ และแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อกำจัดสัตว์ที่มีอาการโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและคนรอบข้าง และลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัด หรือโดนทำร้าย สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ย ได้ดังนี้
ย ที่ 1 คือ อย่าแหย่ ให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆโมโห
ย ที่ 2 คือ อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือ ทำให้สุนัขหรือสัตว์ตกใจ
ย ที่ 3 คือ อย่าแยก สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ ที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า
ย ที่ 4 คือ อย่าหยิบ จานข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขหรือสัตว์ต่างๆ กำลังกินอาหาร
ย ที่ 5 คือ อย่ายุ่ง กับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ ไม่เข้าใกล้สุนัขที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ
หากถูกสุนัขกัด ต้องปฏิบัติตนอย่างถูกต้องโดย ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หลายๆครั้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจนครบตามที่แพทย์แนะนำ ต้องจำสัตว์ที่กัดให้ได้เพื่อสืบหาเจ้าของและสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ติดตามดูอาการสุนัข 10 วัน และถ้าพบสุนัขนั้นตายก่อน 10 วัน และมีประวัติกัดคนหรือสัตว์อื่น ควรนำหัวส่งตรวจโดยประสานกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์พื้นที่ใกล้บ้าน
“สุนัขกัด ต้องล้างแผล ใส่ยา กักหมา หาหมอ ฉีดวัคซีนต่อจนครบชุด” เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย ควรดูแลลูกหลานไม่ให้คลุกคลีหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ เช่น แมว ลิง ที่ไม่รู้ที่มาที่ไป สัตว์จรจัด หรือสัตว์ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน เนื่องจากเด็กๆชอบเล่นกับสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ เมื่อโดนกัดหรือข่วนเพียงเล็กน้อยก็คิดว่าไม่มีอันตราย อาจจะเสียชีวิตได้ถ้าสัตว์นั้นมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า

User Rating: 3 / 5

Star ActiveStar ActiveStar ActiveStar InactiveStar Inactive

วันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. ที่ ห้องประชุมสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ชั้น 3 อาคารสุรพงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี นายแพทย์ชาติชาย กิติยานันท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี มอบหมายให้นายแพทย์ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี และ นายอนุชา วรหาญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี จัดการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการย้ายของข้าราชการพลเรือนสามัญ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี นายแพทย์สมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เป็นประธานในการประชุม


Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive

วันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 07.00 น. ที่พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี นายแพทย์ชาติชาย กิติยานันท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี มอบหมายให้ นายวิสิทธิ์ ปิ่นประชานันท์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี นำคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมพิธีถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องใน "วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" โดยมี นายศักรินทร์ ทุมเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชน เข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน


Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
วันนี้ 24 เมษายน 2566 เวลา 14.00 น. ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดกาญจนบุรี นพ.ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ให้สัมภาษณ์สดในรายการ “NBT Central รวมใจคนไทยไม่ทิ้งกัน” กับผู้ประกาศข่าว คุณสุภาวฎี เนียมทอง เรื่อง “การดูแลสุขภาพของประชาชนในช่วงฤดูร้อน และผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5” โดยมี นายอภิสิทธิ์ จันทร์เต็ม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดกาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพป้องกันโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อนที่พบบ่อย ควรระวังป้องกันโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอาหารเป็นพิษ โรคอหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และโรคพิษสุนัขบ้า ภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน ได้แก่ การเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน โรคลมแดด และการป้องกันเด็กจมน้ำเนื่องจากฤดูร้อนและเด็กปิดภาคเรียน ย้ำมาตรการ “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ”
สำหรับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งขนาดที่เล็กมากนี้จะสามารถหลุดรอดการกรองของขนจมูก ผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจเข้าไปยังถุงลมฝอยและแทรกซึม ผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดฝอย และเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้เกิดโรคในหลายระบบ ผลกระทบต่อสุขภาพของ PM2.5 ดังนี้ 1. ระบบทางเดินหายใจ : ทางเดินหายใจอักเสบ หายใจลำบาก แสบ จมูก ไอมีเสมหะ แน่นหน้าอก ถุงลมแฟบ สมรรถภาพปอดลดลง ภูมิแพ้และหืดกำเริบ 2. ระบบหัวใจและหลอดเลือด : อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาตจากหลอดเลือดสมอง 3. ระบบตา : ระคายเคืองตา ตาอักเสบ 4. ระบบผิวหนัง : คันตามตัว มีผื่น 5. มะเร็งปอด กรณีสัมผัสในระยะยาว จังหวัดกาญจนบุรีมีอำเภอที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ อำเภอที่มีโรงงานน้ำตาล และอำเภอที่มีการปลูกอ้อยเนื่องจากพบว่าเกษตรกรมีการลักลอบเผาอ้อย ได้แก่ อ.ท่ามะกา ท่าม่วง เมืองกาญจนบุรี บ่อพลอย พนมทวน ห้วยกระเจา เลาขวัญ หนองปรือ ส่วนอำเภอที่มีไฟไหม้ป่า ได้แก่ อ.ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค ทองผาภูมิ และสังขละบุรี การป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก กรณีเกินค่ามาตรฐาน ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM2.5 ได้คือ หน้ากากอนามัย N95 งดออกกำลังกายหรือทำงานหนักกลางแจ้ง ตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องยนต์เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ งดการเผาในที่โล่งแจ้ง การเผาอ้อย ทำความสะอาดบ้านเพื่อลดความเข้มข้นของฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆแทนการใช้ไม้กวาดที่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เป็นต้น

© 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ ถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000 หมายเลขโทรศัพท์ 034-512961, 034-512417, 034-540631-2 หมายเลขโทรสาร 034-511734 Kanpho